หลักสูตรวิชาวินัย ธรรมศึกษาชั้นเอก

ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖

²²²²²²

กรรมบถ

*******

            พระพุทธศาสนา  เป็นศาสนาที่สอนเรื่องกรรมว่า  สัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกรรม  หมายความว่า  กรรมนั้นสามารถที่จะทำให้สัตว์โดยเฉพาะมนุษย์เรากลายสภาพเป็นอะไรก็ได้  คือทำให้ไปสู่ทุคติ  ได้แก่  ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน  เป็นเปรต  เป็นสัตว์นรก  เป็นอสุรกายก็ได้  ทำให้ไปสู่สุคติคือ  ไปเกิดเป็นมนุษย์  เทวดา  พรหม  จนถึงเป็นพระอรหันต์ก็ได้

            ดังนั้น  เรื่องของกรรมจึงเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนจำเป็นจะต้องศึกษาให้มีความรู้  ความเข้าใจเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้พ้นจากทุคติ และดำเนินไปสู่สุคติซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างปรารถนา  กรรมที่จะนำไปสู่ทุคติและสุคตินั้น  ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า  กรรมบถ  โดยแบ่งเป็น   ๒ ประเภท  คือ  ที่นำไปสู่ทุคติ  เรียกว่า  อกุศลกรรมบถ  และที่นำไปสู่สุคติ เรียกว่า  กุศลกรรมบถ

อกุศลกรรมบถ ๑๐

. ปาณาติบาต              ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์

. อทินนาทาน           การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย

. กาเมสุมิจฉาจาร      ประพฤติผิดในกาม

ทั้ง  ๓ นี้   จัดเป็นกายกรรม  เพราะเกิดขึ้นในกายทวารโดยมาก จึงเรียกว่า  กายวิญญัติ 

. มุสาวาท                 พูดเท็จ

. ปิสุณวาจา                          พูดส่อเสียด

. ผรุสวาจา                 พูดคำหยาบ

. สัมผัปปลาปะ         พูดเพ้อเจ้อ

ทั้ง  ๔ นี้  จัดเป็นวจีกรรม  เพราะเกิดขึ้นในวจีทวารโดยมาก  จึงเรียกว่า วจีวิญญัติ 

. อภิชฌา                   โลภอยากได้ของเขา

. พยาบาท                  ปองร้ายเขา

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ              เห็นผิดจากคลองธรรม

ทั้ง  ๓ นี้ จัดเป็นมโนกรรม  เพราะเกิดขึ้นในมโนทวาร แม้ปราศจากการเคลื่อนไหวทางกายและวาจา  ก็จัดเป็นกรรมบถได้

อธิบายอกุศลกรรมบถ โดยอาการ 

            .  โดยธรรม  คือ โดยสภาวธรรม

                        กรรมบถ ๗ คือ  กายกรรม ๓  และวจีกรรม ๔ โดยสภาวธรรม ได้แก่  เจตนา  อธิบายว่า ต้องมีเจตนาในการทำ การพูด  จึงจะเป็นกรรมบถได้  ถ้าไม่มีเจตนา ไม่เป็นกรรมบถส่วนมโนกรรม ๓   มีอภิชฌาเป็นต้น เกิดร่วมกับเจตนา จึงจะเป็นมโนกรรมได้  มีแต่เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง  ไม่จัดเป็นมโนกรรม

            .  โดยโกฏฐาสะ  คือ  โดยเป็นส่วนแห่งธรรมต่าง ๆ

                        อกุศลกรรมบถ ๘  คือ  กายกรรม ๓  วจีกรรม ๔  มิจฉาทิฏฐิ ๑   เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูลคือรากเหง้าแห่งอกุศลเหล่าอื่น ส่วนอภิชฌา ได้แก่ โลภะ  พยาบาท  ได้แก่  โทส  ดังนั้น ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นทั้งอกุศลกรรมบถ ทั้งเป็นมูลคือรากเหง้าของอกุศลเหล่าอื่นด้วย

            .  โดยอารมณ์  คือ  สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้ว เป็นเหตุให้ทำกรรมนั้น ๆ

                        ปาณาติบาต  มีสังขารคือชีวิตของสัตว์เป็นอารมณ์ หมายความว่า การฆ่าสัตว์ เป็นการทำลายชีวิตของผู้อื่น  ถ้าทำลายสิ่งไม่มีชีวิต ก็ไม่จัดเป็นการฆ่าสัตว์

                        อทินนาทาน  มีสัตว์หรือสังขารเป็นอารมณ์  หมายความว่า  สิ่งที่ถูกลักขโมยนั้น  อาจเป็นมนุษย์ สัตว์  หรือสิ่งของ ก็ได้

                        กาเมสุมิจฉาจาร   มีสังขารคือผัสสะเป็นอารมณ์ หมายความว่า  กาเมสุมิจฉาจาร  จะสำเร็จได้ต้องมีการสัมผัสทางกาย

                        มุสาวาท ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ มีสัตว์หรือสังขารเป็นอารมณ์ หมายความว่า  เรื่องที่พูดเท็จ  พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อนั้น  อาจเป็นเรื่องของคน  สัตว์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้

                        ผรุสวาจา  มีสัตว์เป็นอารมณ์  หมายความว่า  การพูดคำหยาบนั้น  ต้องพูดกับ   ผู้ที่เข้าใจความหมายเท่านั้น จึงจัดเป็นกรรมบถ  ถ้าพูดกับผู้ที่ไม่เข้าใจ ไม่จัดเป็นกรรมบถ

                        อภิชฌา  มีสัตว์และสังขารเป็นอารมณ์  หมายความว่า  สิ่งที่โลภอยากได้นั้น  เป็นมนุษย์  สัตว์ หรือสิ่งของ ก็ได้

                        พยาบาท  มีสัตว์เป็นอารมณ์  หมายความว่า  การปองร้ายที่จัดเป็นพยาบาทนั้น  ต้องปองร้ายมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น

                        มิจฉาทิฏฐิ  มีสังขารคือธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓  ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ   และอรูปาวจรภูมิเป็นอารมณ์  หมายความว่า  ความเห็นที่จัดเป็นมิจฉาทิฏฐินั้น  ต้องเห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น  โลกอื่นไม่มี  บาปไม่มี  บุญไม่มี  เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นของเที่ยง  เป็นต้น

            .  โดยเวทนา  คือ เวทนา ๓ อย่าง ได้แก่  สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑

            ปาณาติบาต  มีทุกขเวทนาอย่างเดียว หมายความว่า  ในขณะฆ่าสัตว์  จิตใจของผู้กระทำ ย่อมประกอบไปด้วยความโกรธ

                        อทินนาทาน  มีเวทนา ๓  หมายความว่า  ในขณะลักทรัพย์  จิตใจของผู้ลักขโมยอาจจะมีความสุข  ความทุกข์  หรือรู้สึกเฉย ๆ ก็ได้

                        มิจฉาจาร  มีเวทนา ๒  คือ  สุขเวทนากับอุเบกขาเวทนา หมายความว่า  จิตใจของผู้กำลังประพฤติผิดในกามนั้น  มีแต่ความสุข หรือรู้สึกเฉย ๆ เท่านั้น

                        มุสาวาท ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓ หมายความว่า ในขณะที่พูดเท็จ พูดส่อเสียด หรือพูดเพ้อเจ้อนั้น  จิตใจของผู้พูด อาจมีความรู้สึกดีใจ  เสียใจ  หรือเฉย ๆ ก็ได้

                        ผรุสวาจา มีทุกขเวทนาอย่างเดียว  หมายความว่า  คำพูดที่จะจัดว่าหยาบคายนั้น  ผู้พูดต้องพูดด้วยจิตที่โกรธ  หากพูดด้วยจิตเมตตาปรารถนาดี  ไม่จัดเป็นผรุสวาจา

                        อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ  มีเวทนา ๒  คือ  สุขเวทนากับอุเบกขาเวทนา หมายความว่า  ในขณะที่โลภอยากได้ของผู้อื่น หรือมีความเห็นผิดนั้น   จิตใจของผู้นั้น จะมีแต่ความสุข หรือรู้สึกเฉย ๆ ไม่รู้สึกโกรธหรือเสียใจเลย

                        พยาบาท  มีทุกขเวทนาอย่างเดียว หมายความว่า  ในขณะที่ปองร้ายผู้อื่นนั้น   จิตใจของผู้ปองร้าย  ย่อมมีแต่ความโกรธอย่างเดียว

            .  โดยมูล  คือ อกุศลมูล ๓  ได้แก่ โลภมูล ๑ โทสมูล ๑ โมหมูล ๑

                        ปาณาติบาต     มีมูล ๒  คือ     โทสมูล  โมหมูล

                        อทินนาทาน     มีมูล ๒  คือ     โทสมูล โมหมูล  หรือ  โลภมูล โมหมูล

                        มิจฉาจาร         มีมูล ๒  คือ     โลภมูล  โมหมูล

                        มุสาวาท  ปิสุณวาจาและสัมผัปปสาปะ  มีมูล ๒ คือ โทสมูล โมหมูล หรือ โลภมูลโมหมูล

                        ผรุสวาจา                     มีมูล ๒ คือ  โทสมูล โมหมูล

                        อภิชฌา พยาบาท         มีมูล ๑  คือ  โมหมูล

                        มิจฉาทิฏฐิ                    มีมูล ๒  คือ  โลภมูล โมหมูล

ปาณาติบาต

            คำว่า  ปาณะ  ในคำว่า  ปาณาติบาต  โดยสมมติสัจจะ  ได้แก่  สัตว์  โดยปรมัตถสัจจะ   ได้แก่  ชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง  คือ  รูปชีวิตินทรีย์  ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการทำให้รูปมีชีวิตอยู่ได้  และ อรูปชีวิตินทรีย์  ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในการทำให้นามธรรม  ได้แก่ เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ  มีชีวิตอยู่ได้  ชีวิตินทรีย์ทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน  เมื่ออย่างหนึ่งถูกทำลาย  อีกอย่างหนึ่งก็ถูกทำลายไปด้วย

            เจตนาฆ่าของบุคคลผู้รู้อยู่ว่า สัตว์นั้นมีชีวิต   อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจา เป็นเหตุให้เกิดความพยายามในการเข้าไปตัดอินทรีย์คือชีวิตทั้ง ๒ นั้น  ชื่อว่า  ปาณาติบาต

            ปาณาติบาตนั้น  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้  ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

                   . สัตว์มีชีวิต

                        . รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

                        . จิตคิดจะฆ่า

                        . พยายามเพื่อจะฆ่า

                        . สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

            ปาณาติบาตนั้น มีโทษมาก  เพราะเหตุ  ๔ ประการ  คือ

                   . สัตว์ใหญ่

                        . สัตว์นั้นมีคุณ

                        . ความพยายามของผู้ฆ่ามีมาก

                        . กิเลสของผู้ฆ่ารุนแรง     

ปาณาติบาตที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของปาณาติบาต

            เล่ากันมาว่า  ในครั้งพุทธกาล  ในพระนครสาวัตถี  มีชายคนหนึ่งชื่อ  นันทะ  มีอาชีพฆ่าโคเอาเนื้อขายเลี้ยงชีพ  ตลอด ๕๕ ปีที่เขาทำอาชีพนี้ ไม่เคยบริจาคทานและรักษาศีลเลย  ถ้าขาดเนื้อจะไม่ยอมรับประทานอาหารเลย

            วันหนึ่ง  ในเวลาเย็น เขามอบเนื้อให้ภรรยาเพื่อทำกับข้าว เสร็จแล้วไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ  บังเอิญเพื่อนของเขาคนหนึ่งมีแขกมาที่บ้าน ไม่มีกับข้าวต้อนรับ จึงไปยังบ้านนายนันทะ พบภรรยาของเขา จึงได้ขอซื้อเนื้อ แต่ไม่มีเนื้อสำหรับขาย มีแต่เนื้อที่เตรียมไว้สำหรับทำกับข้าวตอนเย็น  ภรรยาของนายนันทะ จึงไม่ขายให้ เพราะทราบดีว่า ถ้าขาดเนื้อแล้ว สามีจะไม่ยอมรับประทานอาหาร  แต่ชายผู้นั้นก็ไม่ฟังเสียง ได้ฉวยหยิบเอาเนื้อนั้นไป

            นายนันทะกลับมาจากท่าน้ำ  ภรรยาได้ยกอาหารที่ปราศจากเนื้อมาให้ ได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง  เขาไม่ยอมรับประทานอาหาร ฉวยมีดอันคมกริบ  เดินเข้าไปหาโคตัวหนึ่ง สอดมือเข้าไปในปาก  ดึงลิ้นออกมาแล้ว ใช้มีดเชือดจนขาด นำมาให้ภรรยาทำกับข้าว  โคตัวนั้นสิ้นใจตายด้วยความเจ็บปวดทรมาน

            เมื่อกับข้าวเสร็จแล้ว นายนันทะจึงรับประทานอาหาร ทันทีที่เขาใส่ชิ้นเนื้อนั้นเข้าไปในปาก  ลิ้นของเขาได้ขาดตกลงไปในชามข้าว ได้รับผลกรรมทันตาเห็น ในการทำปาณาติบาตด้วยจิตใจอันเหี้ยมโหด เลือดไหลออกจากปาก  ร้องครวญครางเสียงเหมือนโค  ตายแล้วไปตกนรกอเวจี ฯ

อทินนาทาน

            คำว่า  อทินนะ  ในคำว่า  อทินนาทาน หมายถึง  ของที่เจ้าของหวงแหน  ไม่ได้ให้ด้วยกายหรือวาจา  จะอยู่ในบ้าน  ในป่า  ทำตก หรือหลงลืม ก็ตาม

            เจตนาอันเป็นเหตุขโมย ของบุคคลผู้รู้อยู่ว่า เจ้าของหวงแหน  อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจา ให้เกิดความพยายามในการถือเอาของนั้น  ชื่อว่า  อทินนาทาน

            อทินนาทาน  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์ ๕  คือ

                   . ของมีเจ้าของหวง

                        . รู้ว่ามีเจ้าของหวง

                        . จิตคิดจะลัก

                        . พยายามเพื่อจะลัก

                        . ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

            อทินนาทานนั้น มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๔ ประการ คือ

                   . ของนั้นเป็นของประณีต หรือมีความสำคัญ

                        . ของนั้นเป็นของบุคคลผู้มีคุณธรรม

                        . ผู้ลักมีความพยายามมาก

                        . กิเลสของผู้ลักแรงกล้า    

อทินนาทานที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของอทินนาทาน

            ครั้งพุทธกาล  ในพระนครสาวัตถี  มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ  สีลวิมังสถะ  ถึงสรณะ ๓ และรักษาศีล ๕  รับราชการอยู่กับพระเจ้าโกศล  พระราชาพร้อมด้วยข้าราชการใหญ่น้อย  ต่างให้ความนับถือพราหมณ์นั้น

            เขาคิดว่า  ที่คนเขานับถือเรานี้  เขานับถืออะไร? ชาติ  โคตร  สกุล  ความรู้  หรือศีลกันแน่  ต้องการจะทดลอง วันหนึ่ง เมื่อกลับจากที่ทำงาน ได้แอบหยิบเอาเงินของหลวงไปจำนวนหนึ่ง   เจ้าหน้าที่การเงินไม่ว่าอะไร  วันที่ ๒  ได้ทำอย่างนั้นอีก  ก็ไม่มีใครว่าอะไร  วันที่ ๓  จึงหยิบเอาเงินไปกำมือหนึ่ง  เจ้าหน้าที่การเงินโกรธ ร้องตะโกนให้คนช่วยกันจับตัว  เมื่อจับตัวได้แล้ว  ก็ทุบตีคนละสองสามที  แล้วพันธนาการไปกราบทูลให้พระราชารับสั่งลงอาญาหลวงแก่เขา

            พราหมณ์ทราบชัดว่า  ที่คนเขานับถือตนนั้น เพราะการรักษาศีล  จึงได้กล่าวว่า  เรื่องชาติ  และชนชั้น เป็นเรื่องไร้สาระ  ศีลนี่แหละสูงที่สุด  บุคคลขาดศีลเสียแล้ว  วิชาความรู้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

กาเมสุมิจฉาจาร

            เจตนาที่ล่วงละเมิดฐานะที่ตนไม่ควรละเมิด อันเป็นไปทางกายทวาร โดยประสงค์ อสัทธรรม ชื่อว่า  กาเมสุมิจฉาจาร ได้แก่ การประพฤติในเมถุนสมาจาร ๒ อย่าง คือ  สทารสันโดษ  ความสันโดษด้วยภริยาของตน และปรทารคมนะ การถึงภรรยาคนอื่น           

            กาเมสุมิจฉาจาร  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

                   . วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง

                        . จิตคิดจะเสพในวัตถุที่พึงประพฤติล่วงนั้น

                        . พยายามในอันจะเสพ

                        . มีความยินดี

            กาเมสุมิจฉาจาร  มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๔ ประการ  คือ

                   . กระทำในบุคคลผู้มีคุณธรรม

                        . เป็นการข่มขืนใจ

                        . มีความพยายามมาก

                        . มีกิเลสแรงกล้า    

กาเมสุมิจฉาจารที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย          

โทษของกาเมสุมิจฉาจาร

          ครั้งดึกดำบรรพ์  ได้มีชายหนุ่มชาวพาราณสีคนหนึ่ง นามว่าจูฬธนุคคหบัณฑิต  เรียนวิชากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่เมืองตักกสิลา  เขาเป็นชายหนุ่มหน้าตาดี  มีความประพฤติเรียบร้อย  เรียนเก่ง  เป็นที่รักใคร่ของอาจารย์  เมื่อเรียนศิลปวิทยาจบแล้ว  จึงลาอาจารย์กลับบ้าน  อาจารย์ได้ยกลูกสาวคนหนึ่งให้เป็นภรรยา  ในระหว่างทางได้เกิดการต่อสู้กับพวกโจรที่มาดักปล้น  ได้ฆ่าโจรตายไปหลายคน จนลูกศรในมือหมด  จึงต่อสู้กับหัวหน้าโจรด้วยมือเปล่า บอกให้ภรรยานำดาบมาให้  แต่ภรรยากลับเกิดความรัก ในตัวโจรที่ตนเพิ่งจะพบเห็นเดี๋ยวนั้นเอง  จึงส่งดาบไปให้โจร  ฆ่าชายหนุ่มตาย

            โจรพานางไปถึงแม่น้ำสายหนึ่ง  คิดว่า  หญิงคนนี้พบชายอื่นเข้า คงจะให้ฆ่าเราเหมือนกับให้เราฆ่าสามีเธอ  เราไม่ต้องการผู้หญิงคนนี้  จึงออกอุบายหลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทองของเธอจนหมดสิ้น  แล้วก็จากไป โดยทิ้งคำพูดไว้กับเธอว่า แม่คนงาม  เธอเอาสามีที่เคยเชยชิดกันมานาน  แลกกับันซึ่งมิใช่สามีที่ไม่เคยเชยชิด  วันหลังเธอคงจะเอาฉันแลกกับชายอื่นอีก  ฉันจะหนีเธอไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้  หญิงสาวคนนั้นไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย  เพราะประพฤติผิดศีลข้อที่ ๓ นี้นั่นเอง

กายกรรมเป็นไปในทวาร ๒

            กรรม ๓ อย่าง คือ ปาณาติบาต  อทินนาทาน  และกาเมสุมิจฉาจาร   เรียกว่า  กายกรรม   เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก  บางครั้ง ปาณาติบาตและอทินนาทาน  ก็เป็นไปในวจีทวาร  ตัวอย่าง นาย ก.  สั่งให้ นาย ข. ไปฆ่าคน หรือไปลักทรัพย์  นาย  . ทำงานสำเร็จตามที่นาย ก. สั่ง  การฆ่าคน หรือการลักทรัพย์ของนาย ก. จัดเป็นกายกรรม  แต่ทวาร จัดเป็นวจีทวาร  ส่วนกาเมสุมิจฉาจาร  จัดเป็นกายกรรม  เพราะเป็นไปทางกายทวารอย่างเดียว

            ปาณาติบาต  อทินนาทาน  และกาเมสุมิจฉาจาร ที่จัดเป็นกายกรรมนั้น  ต้องมีการกระทำด้วยกาย  กรรมนั้นจึงจะสำเร็จ ดังตัวอย่างที่ยกมา ถ้ามีเพียงแต่การสั่งอย่างเดียว ไม่มีคนลงมือทำ  จะสั่งต่อ ๆ กันไปกี่คนก็ตาม  การฆ่าหรือการลักนั้นจะสำเร็จไม่ได้เลย

            ในการทำปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจารนั้น  จิตใจของผู้กระทำ ต้องมี  อภิชฌา  คือ โลภะ  พยาบาท  คือ  โทสะ และมิจฉาทิฏฐิ เกิดขึ้นด้วยตามสมควร  ต่างตรงที่กายกรรมนี้  เน้นตัวเจตนาคือความจงใจเป็นสำคัญ  ดังนั้น  อภิชฌา  พยาบาท  และมิจฉาทิฏฐิ  ในกายกรรมนี้  จึงจัดเป็นอกุศลกรรม ฝ่ายสนับสนุนเจตนา  ไม่ได้จัดเป็นกรรมบถ ฯ

 

มุสาวาท

            คำว่า  มุสา  แปลว่า  เท็จ  เจตนาทำให้พูดเท็จ ชื่อว่า  มุสาวาท ได้แก่ อกุศลเจตนาที่ก่อให้เกิดความพยายามทางกายและวาจาของคนโกง  โดยมุ่งจะหลอกลวงคนอื่น  การพูดเท็จนั้น  หากทำให้คนอื่นเสียประโยชน์  ก็จัดเป็นกรรมบถ  ถ้าไม่เสียประโยชน์ ก็เป็นเพียงกรรม

            กรรมบถ ต่างกันกับ กรรม  กรรมบถ หมายถึง กรรมที่ส่งผลปฏิสนธิกาล  เช่น ส่งผลให้ไปเกิดในนรก  เกิดเป็นมนุษย์  เกิดในสวรรค์  เป็นต้น  ส่วนกรรม หมายถึง  กรรมที่ให้ผลในปวัตติกาล  เช่น  ส่งผลให้เห็นรูป  ฟังเสียง  ลิ้มรส  ที่ดีหรือไม่ดี  เป็นต้น

            มุสาวาท  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

                   . เรื่องไม่จริง

                        . จิตคิดจะพูดให้ผิด

                        . พยายามจะพูดออกไป

                        . คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

            มุสาวาทมีโทษมาก  เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ

                   . ประโยชน์ที่ถูกทำลายมีมาก

                   . ผู้เสียประโยชน์เป็นผู้มีคุณมาก

                        . กิเลสของผู้กล่าวมุสาวาทมีกำลังแรงกล้า     

มุสาวาทที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของมุสาวาท

          อดีตกาล  ในพระนครพาราณสี  ได้มีจักษุแพทย์คนหนึ่ง เที่ยวรักษาคนตามหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ ต่อมา ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังทุกข์ทรมานด้วยโรคตา จนเกือบจะมองไม่เห็น  หมอตรวจดูอาการแล้ว บอกว่าพอจะรักษาให้หายเป็นปกติได้ นางจึงตอบว่า ถ้าคุณหมอรักษาตาดิฉันให้หายเป็นปกติได้ ดิฉันกับลูกชาย ลูกสาว จะยอมเป็นทาสรับใช้ไปตลอดชีวิต  หมอจึงตกลงรักษาให้  ต่อมาไม่นาน ดวงตาของเธอก็หายเป็นปกติ

            เธอกลัวว่าจะต้องเป็นทาสของหมอตามที่ให้สัญญาไว้ เมื่อหมอมาถามอาการ จึงแกล้งพูดโกหกว่า  ก่อนนี้ ดวงตาของดิฉันเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย  แต่พอหยอดยาของท่านแล้ว กลับเจ็บปวดมากกว่าเดิม หมอรู้ทันว่า  ผู้หญิงคนนี้หลอกลวงเรา เพราะประสงค์จะไม่ให้ค่ารักษา โกรธมาก   จึงปรุงยาขนานใหม่ให้  เมื่อนางใช้ยานั้นหยอดตาแล้ว ตาทั้ง ๒ ข้างได้บอดสนิท  สตรีนั้นตาบอดเพราะการกล่าวเท็จ  ดังนี้แล

ปิสุณวาจา

            เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง พยายามกระทำหรือพูด เพื่อต้องการให้คนอื่นมารักตน ก็ดี เพื่อต้องการทำลายคนอื่น ก็ดี ชื่อว่า  ปิสุณวาจา

            การพูดให้ร้ายลับหลัง โดยมุ่งให้คนอื่นเกิดความแตกแยก เมื่อคนอื่นแตกแยกกันแล้ว    จัดเป็นปิสุณวาจา สำเร็จเป็นกรรมบถ  ถ้าไม่เกิดความแตกแยกกัน ก็เป็นเพียงกรรมเท่านั้น

            ปิสุณวาจา  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์ ๔  คือ

                   . คนอื่นที่พึงถูกทำลาย

                   . จิตคิดจะพูดส่อเสียด

                        . พยายามจะพูดออกไป

                        . คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

            ปิสุณวาจา  มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๓ ประการ  คือ

                   . บุคคลผู้ถูกทำลายให้แตกแยกกันนั้น เป็นผู้มีคุณมาก

                        . คนเหล่านั้นแตกแยกกัน

                        . ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า    

ปิสุณวาจาที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของปิสุณวาจา

            ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ  มีพระมหาเถระ ๒ รูป  รูปหนึ่งมีพรรษา  ๖๐   อีกรูปหนึ่งมีพรรษา  ๕๙   รักกันมาก  จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง  ซึ่งสมบูรณ์ด้วยลาภ  ต่อมา มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง มาขออยู่ในอาวาสนั้นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่มีลาภสักการะมาก  อยู่ได้ไม่นาน ก็คิดขับไล่พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น  จึงเข้าไปหาทีละรูปแล้ว พูดว่า  เมื่อวันกระผมมาที่นี่พระเถระรูปนั้น  บอกผมว่า คุณเป็นคนดี จะคบหาสมาคมกับพระมหาเถระ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน  พูดเหมือนกับรู้ความลับ ความเสียหายของท่าน  เสร็จแล้ว ก็เข้าไปหาอีกรูปหนึ่ง พูดอย่างเดียวกัน  แรก ๆ ทั้ง ๒ รูปไม่เชื่อ  แต่นานไปเกิดบาดหมางกันแล้ว ในที่สุดก็แตกกัน  ต่างคนต่างออกจากวัด  พระธรรมกถึก จึงได้ครองวัดนั้นแต่ผู้เดียว  ครั้นเธอมรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกชั้นอเวจี  พ้นจากนรกนั้นแล้ว ไปเกิดเป็นเปรต  ร่างกายเหมือนมนุษย์  มีศีรษะเหมือนสุกร  ต้องเสวยทุกข์อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ  การพูดทำให้คนแตกสามัคคีกัน เป็นบาปหนัก  ดังนี้แล

ผรุสวาจา

            เจตนาแผ่ไปเผาผลาญจิตของผู้ฟัง  ชื่อว่า  ผรุสา

            เจตนาเป็นเหตุประทุษร้ายก่อให้เกิดความพยายามทางกาย ทางวาจา  อันเป็นเหตุทำลายไมตรีของผู้อื่น  ชื่อว่า ผรุสวาจา  อีกอย่างหนึ่ง  เจตนาในการพูดมุ่งทำลายแผ่ไปเผาผลาญจิตใจของผู้ฟัง  ชื่อว่า  ผรุสวาจา

            ผรุสวาจานั้น ขึ้นอยู่กับเจตนาที่มุ่งประทุษร้าย และพูดต่อหน้า จึงจัดเป็นกรรมบถ  ส่วนคำด่าที่พูดด้วยเจตนาดี  เหมือนบิดา  มารดา  และครูอาจารย์  ดุด่า  บุตร  ธิดา และศิษย์ เป็นต้น   ไม่จัดเป็นผรุสวาจา

            ดังได้สดับมา เด็กคนหนึ่ง ไม่เชื่อคำของมารดา เข้าไปในป่า เมื่อมารดาไม่สามารถบังคับให้เด็กนั้นกลับได้ จึงด่าว่า ขอแม่กระบือดุ จงไล่ตามมัน ทันใดนั้น แม่กระบือปรากฏแก่เด็กนั้นในป่าจริง ๆ เด็กได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า มารดาของข้าพเจ้า พูดเรื่องใด ด้วยปาก เรื่องนั้นจงอย่ามี แต่มารดาคิดเรื่องใด ด้วยจิต ขอเรื่องนั้นจงมีเถิด  แม่กระบือได้หยุดอยู่ เหมือนถูกผูกในที่นั้นนั่นเอง

            ผรุสวาจาที่จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๓  คือ

                   . คนอื่นที่พึงถูกด่า

                        . จิตคิดจะพูดคำหยาบ

                        . พูดคำหยาบออกไป

            ผรุสวาจา  มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๓ ประการ  คือ

                   . ผรุสวาจานั้น ถึงความเป็นกรรมบถ

                        . คนที่ถูกด่าเป็นคนมีคุณธรรมมาก

                        . ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า    

ผรุสวาจาที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของผรุสวาจา

            ในสมัยพุทธกาล  พระราชกุมารทรงพระนามว่าวิทูฑภะ เป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล  กับนางวาสภขัตติยา ชาวศากยะ เป็นพระญาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นธิดาของพระเจ้ามหานามะกับนางกำนัล  พระเจ้ามหานามะ ได้ถวายนางแก่พระเจ้าโกศลที่ส่งคนมาขอ โดยประสงค์จะเป็นญาติกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

            ขณะที่ยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าวิทูฑภะ เห็นพระกุมารอื่น ๆ ได้รับของขวัญจากสกุลของพระเจ้าตา  จึงถามพระมารดาว่า  แม่ไม่มีพระเจ้าตา  พระเจ้ายายหรือ ? เมื่อพระมารดา ตอบว่า มีสิลูก  ได้ถามกลับไปว่า  ทำไมพระเจ้าตา  พระเจ้ายาย  จึงไม่ส่งของเล่นให้ชายบ้าง ? คำถามนี้ทำให้พระมารดาหนักพระทัยที่สุด  เพราะรู้จักมานะของพวกศากยะดี  จึงตอบเลี่ยงไปว่า  ท่านอยู่ไกลและไม่มีเวลา

            วิทูฑภกุมารรบเร้าพระมารดา ต้องการจะไปเยี่ยมสกุลพระเจ้าตา พระนางขัดไม่ได้ จึงส่งข่าวไปยังพระเจ้ามหานามะ ในวันที่วิทูฑภกุมารไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ พวกศากยะให้พระกุมารที่มีอายุน้อยกว่า  เสด็จออกประพาสป่าหมด  วิทูฑภะต้องเป็นผู้ไหว้พวกศากยะฝ่ายเดียว  จึงถามว่า  เจ้าศากยะที่อายุน้อยกว่าไม่มีเลยหรือ ? พวกเจ้าศากยะตอบว่า มีจ้ะ พ่อ  แต่ออกไปประพาสป่ากันหมด  วิทูฑภกุมารเยี่ยมสกุลพระเจ้าตาพอสมควรแก่เวลา จึงลากลับ  เดินทางไปได้ระยะหนึ่ง  มหาดเล็กคนหนึ่งลืมของไว้ จึงกลับไปเอา พบพวกศากยะกำลังเอาน้ำนมล้างตั่งที่วิทูฑภกุมารนั่ง  ปากก็ด่าว่า  ล้างเสนียดจัญไรที่ลูกนางทาสีนั่ง  มหาดเล็กนำความนั้นมาทูลพระกุมาร ๆ โกรธจัด  ตรัสว่า วันนี้ให้พวกศากยะมันเอาน้ำนมล้างตั่งไปก่อน  ภายหน้าเมื่อเราได้ครองราชย์  จะเอาเลือดในลำคอของพวกนั้นล้างท้องพระโรงให้ได้

            เมื่อวิทูฑภกุมารได้ครองราชย์หลังจากพระเจ้าโกศลสวรรคตแล้ว  ได้ยกกองทัพมาฆ่าพวกศากยะจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กที่ยังดื่มนม สกุลของศากยะได้ถูกพระเจ้าวิทูฑภะทำลายจนหมดสิ้น  เพราะการกล่าวคำหยาบด่าว่าผู้อื่นด้วยจิตใจที่หยาบคาย  ดังนั้น จึงไม่ควรพูดคำหยาบ  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

สัมผัปปลาปะ

            เจตนาเป็นเหตุกล่าวถ้อยคำอันหาประโยชน์มิได้ คือ กำจัดทางแห่งประโยชน์สุขที่สัตบุรุษพึงได้รับ ชื่อว่า  สัมผัปปลาปะ

          ความแตกต่างระหว่างมุสาวาทกับสัมผัปปลาปะ

            มุสาวาท  ได้แก่ อกุศลเจตนา อันเป็นเหตุพยายามทางกาย ทางวาจา ของคนผู้มุ่งจะ  หลอกลวงคนอื่น ส่วนสัมผัปปลาปะ ได้แก่  อกุศลเจตนา อันเป็นเหตุกล่าวถ้อยคำปราศจากอรรถธรรม   ไม่แสดงอรรถ ธรรมและวินัย  เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ในภพนี้  และภพหน้า

            สัมผัปปลาปะ ที่ประกอบด้วยอกุศลเจตนาเป็นเหตุพยายามทางกาย  ทางวาจา เพื่อแสดงสิ่งไร้สาระ จนคนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง  จัดเป็นกรรมบถ  

            ส่วนดิรัจฉานกถา ผู้พูดด้วยความชอบใจ ย่อมเป็นเพียงกรรม ไม่ถึงกรรมบถ หากพูดโดยอิงอาศัยอรรถ  ธรรม  หรือวินัย  ก็เกิดประโยชน์ได้

            สัมผัปปลาปะ  จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

                   . จิตคิดจะพูดเรื่องเพ้อเจอ

                        . พูดเรื่องเช่นนั้นออกไป

            สัมผัปปลาปะ  มีโทษมาก  เพราะเหตุ    ประการ  คือ

                   . ผู้พูดมีอาเสวนะมาก 

                        . คนอื่นเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง

                        . ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า    

สัมผัปปลาปะที่ตรงกันข้าม ชื่อว่ามีโทษน้อย

โทษของสัมผัปปลาปะ

            ในสมัยดึกดำบรรพ์  มีเต่าช่างพูดตัวหนึ่ง  ได้ผูกมิตรกับหงส์สองตัว  ที่มักมาหากินในหนองน้ำที่เต่าอาศัยอยู่  เมื่อหงส์ทั้งสองมาที่หนองน้ำนั้น  ก็สนทนากับเต่าอย่างมีความสุข  สมกับคำที่นักปราชญ์สอนไว้ว่า จะมีใครในโลกนี้ ที่มีความสุขเท่ากับผู้มีมิตรสหายไว้สนทนาปรับทุกข์  ร่วมสุขซึ่งกันและกัน  เต่าได้พูดกับหงส์ว่า  สหายทั้งสองนับว่าโชคดี มีปีกบินได้ จึงไปหากิน  และไปเที่ยวต่างถิ่นต่างที่ได้ตามใจชอบ  ส่วนข้าพเจ้ากี่เดือนกี่ปี ก็อยู่แต่ที่หนองน้ำแห่งนี้  ไม่มีโอกาสได้ไปภูมิประเทศอื่น อันสวยงามกับเขาเลย  เพราะเป็นสัตว์เดินช้า

            หงส์ทั้งสองสงสารเพื่อน  จึงบอกว่า  ถ้าสหายต้องการจะไปหากินยังหนองน้ำอื่น  และเที่ยวชมภูมิประเทศที่สวยงามละก็ ข้าพเจ้าทั้งสองสามารถพาไปได้ แต่กลัวว่าสหายจะอดพูดไม่ได้  เต่าถามวิธี  จึงบอกว่า  ข้าพเจ้าทั้งสองจะคาบไม้ที่ปลายทั้งสอง  ให้สหายคาบตรงกลาง  เท่านี้ก็สามารถพาสหายไปที่ไหนก็ได้  แต่ในระหว่างเดินทางสหายต้องไม่พูดเด็ดขาด  ถ้าพูดจะทำให้ตกลงมาถึงแก่ความตาย  เต่ารับคำของหงส์ว่าจะทำตามนั้น

            หงส์ทั้งสองพาเต่าบินไป  ผ่านทุ่งนาแห่งหนึ่ง  ซึ่งมีเด็กเลี้ยงโคหลายคนกำลังจับกลุ่มเล่นกันอยู่  เด็กคนหนึ่งเห็นเช่นนั้น  จึงบอกเพื่อนว่า  ดูนั่นสิ  หงส์สองตัวคาบปลายไม้พาเต่าบินไป   ข้าว่าเดี๋ยวก็ตกลงมาตาย  พวกเราตามไปเก็บเต่าตายมาแกงกินกันเถอะ  แล้วก็พากันวิ่งตามไป  เต่าได้ยินดังนั้น  อยากจะพูดกับเด็กให้สะใจว่า  ไอ้เด็กโง่เอ๋ย  พวกเอ็งไม่มีวันจะได้กินเนื้อข้าหรอก  อ้าปากจะพูด จึงหลุดจากไม้ที่คาบไว้ ตกลงมาที่แผ่นดิน จนกระดูกแตกออกมานอกเนื้อ ถึงแก่ความตาย  การพูดไม่รู้จักกาลเวลามีโทษอย่างนี้

วจีกรรมเป็นไปในทวาร ๒

            กรรม ๔ อย่าง  มีมุสาวาทเป็นต้นนี้  จัดเป็นวจีกรรม  เพราะเป็นไปในวจีทวารโดยมาก บางครั้ง กรรม ๔ อย่างนี้  ก็เกิดขึ้นทางกายทวารได้ เช่น การเขียนหนังสือหลอกลวงคนอื่น เป็นต้น    จัดเป็นกายกรรม

            อนึ่ง ในขณะที่พูดเท็จ  พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ  และพูดเพ้อเจ้อนั้น อกุศลธรรม  ๓ อย่าง  มีอภิชฌา  พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ  ย่อมเกิดร่วมด้วยตามสมควร  แต่ก็ไม่เรียกว่า  วจีกรรม  เพราะมุ่งเอาเจตนาเป็นใหญ่  สมกับพระพุทธพจน์ว่า  เจตนาหํ   ภิกฺขเว  กมฺมํ   วทามิ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม  และอกุศลธรรมทั้ง ๓ นั้น  ก็ไม่ชื่อว่า มโนกรรม  เพราะล่วงละเมิดออกมาทางวาจาแล้ว  ดังนั้น  อกุศลธรรมทั้ง ๓ นั้น  จึงเป็นเพียงตัวสนับสนุนเจตนา

อภิชฌา

            เจตนาเป็นเหตุละโมบ ในเมื่อเห็นสิ่งของ ๆ ผู้อื่นแล้ว เพ่งเล็ง โดยน้อมเข้ามาหาตนว่า    ทำอย่างไรหนอ ? ของนี้จะพึงเป็นของเรา ชื่อว่า อภิชฌา  ที่ถึงความเป็นกรรมบถ  แต่ถ้าเห็นสมบัติของคนอื่นแล้ว  ไม่คิดเอามาเป็นของตน  เพียงแต่ยินดีว่า  ผู้ใช้สอยสมบัติเช่นนี้มีบุญหนอ  เราควรได้ใช้สอยสักชั่วคราว  หรือว่า เราควรได้รับของเช่นเดียวกันนี้  อย่างนี้ เป็นเพียงกรรมเท่านั้น ไม่ถึงกรรมบถ  สมกับคำของพระอรรถกถาจารย์ว่า แม้ความโลภจะเกิดขึ้นในสมบัติของผู้อื่น  ก็ยังไม่จัดเป็นกรรมบถ  ตลอดเวลาที่ยังไม่น้อมเข้ามาเป็นของตนว่า  ไฉนหนอ ? ของนี้พึงเป็นของเรา

            อภิชฌา จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้  ต้องประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

                   . สิ่งของ ๆ บุคคลอื่น

                        . การน้อมมาเพื่อเป็นของตน

            อภิชฌานั้นมีโทษมาก  เพราะเหตุ ๓ ประการ  คือ

                   . สิ่งของที่เพ่งเล็งมีค่ามาก

                        . เจ้าของมีคุณมาก

                        . ผู้เพ่งเล็งมีกิเลสแรงกล้า

อารมณ์ภายนอกเป็นเหตุเกิดอภิชฌาได้

            มีเศรษฐีใหม่คนหนึ่ง ได้รับมรดกหลังจากบิดามารดาถึงแก่กรรม ผู้รักษาเรือนคลังของเศรษฐีนั้น ได้เปิดห้องสำหรับเก็บทรัพย์แจ้งจำนวนให้ทราบว่า  ทรัพย์ของบรรพบุรุษ มีปู่เป็นต้น    มีจำนวนเท่านี้  ของบิดาท่านมีจำนวนเท่านี้  เศรษฐีใหม่ดูทรัพย์เหล่านั้นแล้ว  ถามว่า  ทำไม บรรพบุรุษของเรา จึงไม่นำเอาทรัพย์เหล่านี้ไปด้วย  ?  ผู้รักษาเรือนคลังตอบว่า เจ้านาย ไม่มีใครสามารถถือเอาทรัพย์ไปปรโลกได้หรอก สัตว์ทั้งหลายพาเอาไปได้แต่บุญกับบาปที่ตนทำไว้เท่านั้น

            เศรษฐีใหม่คิดว่า  บรรพบุรุษของเรา สะสมทรัพย์สินเงินทองเอาไว้มากมายมหาศาล  ที่สุดก็ทิ้งเอาไว้ให้คนอื่น  เพราะความโง่แท้ ๆ  ส่วนเราจะเอาทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นไปให้หมด  จึงสั่งให้สร้างคฤหาสน์หรูราคาแพง  สร้างประรำสำหรับรับประทานอาหาร เพื่อประกาศความร่ำรวย   ให้ชาวเมืองได้เห็น การรับประทานอาหารแต่ละมื้อใช้จ่ายมาก  มีทั้งอาหาร สาวงามคอยปรนนิบัติขับกล่อม โดยเฉพาะในวันเพ็ญ ได้จ่ายทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นค่าอาหาร จ้างคนไปประกาศให้ชาวเมืองมาดูการรับประทานอาหารของตน คนได้พากันมาดูเป็นจำนวนมาก

ในที่นั้น  มีคนยากจน ๒ คน  เป็นเพื่อนกัน  คนหนึ่งอยู่ในเมือง  คนหนึ่งอยู่บ้านนอก        มีอาชีพหาฟืนขาย  พอเขาเปิดภาชนะบรรจุอาหาร  กลิ่นของอาหารหอมฟุ้งตลบไปทั่ว จนชาวบ้านนอกคนนั้น เกิดความอยากจะรับประทาน จนอดใจไม่อยู่  เพราะตั้งแต่เกิดมา อย่าว่าแต่ได้รับประทานเลย  แม้แต่กลิ่นอย่างนี้ ก็ไม่เคยได้รับ  จึงบอกแก่เพื่อนว่า  เพื่อนเอ๋ย  เราอยากกินอาหารนั้นเหลือเกิน เพื่อนจึงตอบว่า อย่าปรารถนาเลยเพื่อน  เราทำงานไปตลอดชีวิต ก็ไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสอาหารอย่างนี้  เขาขอร้องว่า เพื่อนเอ๋ย  ถ้าไม่ได้กินอาหารนี้ต้องตายแน่  เมื่อไม่สามารถห้ามได้ จึงตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า  นายครับ  ผมไหว้ท่าน  ขออาหารในถาดให้เพื่อนผมกินสักคำเถิด เศรษฐีตอบว่า ไม่ได้  จึงหันมาถามเพื่อนว่า  ได้ยินเศรษฐีพูดไหม ? เขาตอบว่า ได้ยินแล้ว  แต่ก็ยังยืนยันว่า ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารนี้ ต้องตายแน่นอน  ท่านเศรษฐีครับ  เพื่อนของผมบอกว่า  ถ้าเขาไม่ได้อาหาร  ชีวิตของเขาต้องตายแน่นอน  เขาจึงบอกเศรษฐีอีกว่า โปรดให้ชีวิตแก่เขาเถิด     ได้รับคำตอบว่า อาหารนี้ราคาแพงมาก ถ้าคนอื่นมาอ้างเหมือนเพื่อนของแก  ฉันจะเอาที่ไหนมาให้  ถ้าเพื่อนของแกอยากจะกินอาหารจานนี้จริง ๆ ต้องทำงานในบ้านฉัน ๓ ปี  ในที่สุดชาวบ้านนอกคนนั้น ก็ยอมทิ้งครอบครัว มาทำงานในบ้านเศรษฐี ๓ ปี  เพื่อแลกข้าวจานเดียว

            เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า  อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้อย่างรุนแรงนั้นเกิดขึ้นจากสิ่งล่อใจภายนอกก็ได้ ชาวบ้านนอกคนนั้น มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยความอดอยากยากจนมานานแล้ว เมื่อไม่ได้เห็นความหรูหรา  ไม่ได้ลิ้มรสอาหารดี ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่เมื่อได้มาเห็นความหรูหรา และได้กลิ่นอาหารดี ๆ ของเศรษฐี  จึงเกิดความอยากได้อย่างรุนแรง  ถึงกับเอาชีวิตเข้าแลก  สมกับคำที่นักปราชญ์สอนเอาไว้ว่า  ระหว่างอารมณ์กับยาพิษ  อารมณ์มีพิษร้ายแรงกว่ายาพิษ  เพราะยาพิษต้องกินเข้าไปมันถึงจะฆ่าชีวิตได้  แต่อารมณ์แค่คิดถึงก็ทำให้คนเราถึงตายได้ ดังนั้น คนเราจะทำอะไรก็ตาม ควรคิดถึงจิตใจของคนอื่นบ้าง  อย่าเอาทรัพย์สมบัติ  หรือสังขารร่างกายของเราไปอวดสาธารณชน จนคนอื่นเกิดความอยากได้อย่างรุนแรง  เป็นเหตุนำภัยอันตรายมาสู่ตัวเองได้

พยาบาท

            เจตนาเป็นเหตุปองร้าย  คือ การคิดกระทำให้ผู้อื่นประสบความพินาศ  ชื่อว่า  พยาบาท 

            ความคิดปองร้าย ของผู้มุ่งจะทำร้ายชีวิตของสัตว์อื่น ตั้งแต่มดและยุง ไปจนถึงมนุษย์ว่า  ขอให้สัตว์เหล่านี้จงพินาศ  จงวิบัติ  ทำอย่างไรหนอ ? สัตว์เหล่านี้ พึงพินาศ  พึงวิบัติ  ไม่พึงเจริญรุ่งเรือง  ไม่พึงมีชีวิตอยู่ได้นาน ดังนี้ จัดเป็นกรรมบถ ส่วนความโกรธที่ไม่คิดป้องร้ายผู้อื่น เป็นเพียงกรรมเท่านั้น  สมกับคำพระอรรถกถาจารย์ว่า  แม้ความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นเหตุเกิดขึ้น ก็ไม่ล่วงกรรมบถ  ตราบใดที่ยังไม่คิดปองร้ายเขาว่า  ทำอย่างไรหนอ ? ผู้นี้จะพึงพินาศตายไป

            พยาบาท จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้  ต้องประกอบด้วยองค์ ๒ คือ

                   . มีสัตว์อื่น

                        . คิดจะให้สัตว์นั้นถึงความพินาศ

            พยาบาท มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๒ ประการ  คือ

                   . ผู้ที่ถูกปองร้ายมีคุณมาก

                        . ผู้ปองร้ายมีกิเลสรุนแรง

เกิดความพยาบาทเพราะความคิด  ๑๐ ประการ

          ความพยาบาทย่อมเกิดเพราะความคิด  ๑๐  ประการ  คือ  เพราะคิดว่า

            . เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา

            . เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา

            . เขาจะประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา

            . เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก  ที่พอใจ  ของเรา

            . เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก  ที่พอใจ ของเรา

            . เขาจะประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก  ที่พอใจ  ของเรา

            . เขาได้บำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก  ไม่เป็นที่พอใจของเรา

            . เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก  ไม่เป็นที่พอใจของเรา

            . เขาจะบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก  ไม่เป็นที่พอใจของเรา

            ๑๐. บุคคลบางคนย่อมโกรธโดยไม่มีเหตุผล

            ความพยาบาทนั้น  นอกจากจะทำลายประโยชน์สุขของผู้อื่นแล้ว  ยังทำลายตัวเองอีกด้วย  ดังเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์เล่าไว้ ในอรรถกถาธรรมบทว่า 

มีเศรษฐีคนหนึ่ง  เก็บเอาเด็กทารกที่มารดาเอาไปทิ้งไว้ ในกองขยะ มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม  เพราะเชื่อโหราศาสตร์ว่า เด็กที่เกิดมาในช่วงระยะวันเดือนนั้น  จะมีวาสนาดี  ได้เป็นเศรษฐี  พอดีภรรยาของเขา ก็จะคลอดในช่วงเวลานั้นด้วย คิดว่า ถ้าภรรยาคลอดทารกออกมาเป็นหญิง   ก็จะให้แต่งงานกับเด็กคนนั้น  ถ้าคลอดออกมาเป็นชาย  ก็จะฆ่าเด็กนั้นทิ้งเสีย  เผอิญภรรยาคลอดทารกออกมาเป็นชาย จึงคิดจะฆ่าเด็กนั้น ตามความพยาบาทข้อที่ ๖ ว่า  เขาจะประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก  ที่พอใจ ของเรา

            เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กนั้น ตั้งแต่ยังเป็นทารกแบเบาะ  จนถึงโตเป็นหนุ่มถึง ๕ ครั้ง

            ครั้งที่ ๑  เอาไปวางไว้ที่ประตูคอกโค  ซึ่งมีโคหลายร้อยตัวที่จะเดินแออัดแย่งกันออกจากคอกแล้วเหยียบเด็ก  แต่ปรากฏว่า  โคตัวจ่าฝูงไปยืนกันเด็กเอาไว้ จนโคออกจากคอกหมด  ทำให้เด็กรอดตายในครั้งนั้น

            ครั้งที่ ๒  เอาไปวางไว้ที่ทางเกวียน  เวลากลางคืน  เพื่อให้หมู่เกวียนที่นำสินค้าไปขาย หลายร้อย หลายพันเล่ม ทับเด็กตาย แต่โคที่ลากเกวียนเล่มหน้าสุด  เดินไปถึงที่นั้นได้สลัดแอกทิ้ง  ไม่ยอมลากเกวียนต่อไป  เจ้าของเกวียนลงไปจัดการกับโค ได้พบเด็กเข้า จึงนำไปคืนให้เศรษฐี

            ครั้งที่ ๓  เอาเด็กไปทิ้งในป่าช้าผีดิบ  เพื่อให้สัตว์ร้าย   และอมนุษย์ที่มาหากินในเวลากลางคืนทำร้ายเด็ก  แต่ก็ไม่มีสัตว์ร้ายอะไรทำร้ายเด็ก  จนมีคนมาพบแล้วนำไปคืนเศรษฐี

            ครั้งที่ ๔  นำเอาเด็กไปโยนเหว  แต่ปรากฏว่าเด็กตกไปค้างอยู่บนยอดพุ่มไม้  ซึ่งมีเถาวัลย์สอดประสานกันอย่างหนาแน่น  จึงไม่เป็นอันตราย  จนมีคนไปพบแล้วนำไปคืนเศรษฐี

            เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กถึง ๔ ครั้ง  แต่เด็กไม่ตาย   ยังมีชีวิตอยู่ต่อมาจนเป็นหนุ่ม  เศรษฐีมองดูเด็กนั้นครั้งใด  หน้าของเด็กนั้นเหมือนกับหนามแทงตาแทงใจ ดังพระพุทธพจน์ว่า  อัปปิเยหิ  สัมปโยโค  ทุกโข  การอยู่ร่วมกับบุคคลไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์  สุดท้ายเศรษฐี จึงวางแผนฆ่าทำลายหลักฐาน  ด้วยการส่งเด็กไปยังบ้านของนายช่างหม้อเพื่อนตนเอง เขียนหนังสือให้เด็กถือไป มีข้อความว่า ให้ฆ่าเด็กคนนี้แล้วเผาทิ้งเสีย  เพราะเด็กไม่รู้หนังสือ จึงรับคำของบิดา เดินทางออกจากบ้านมุ่งหน้าไปยังบ้านของนายช่างหม้อ บังเอิญไปพบกับบุตรชายแท้ ๆ ของเศรษฐี กำลังเล่นอยู่กับเพื่อน ๆ และพ่ายแพ้มาตลอด  จึงรบเร้าให้พี่ชายเล่นแทน และขออาสาเอาจดหมายของพ่อไปให้นายช่างหม้อ ๆ แทน จึงถูกนายช่างหม้อฆ่าตาย นายช่างเผาทำลายหลักฐาน ตามคำสั่งของเศรษฐี  ส่งข่าวไปให้ทราบว่า  งานที่สั่งให้ทำ  ได้ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้ว  ครั้นตกเย็น  เด็กหนุ่มกลับมาบ้าน  พอเศรษฐีเห็นหน้าเขาเท่านั้น ก็ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น เสียใจอย่างหนัก ถึงกับอาเจียนออกมาเป็นเลือด  และถึงแก่ความตายในที่สุด สมกับที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

            ผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้ไม่มีความผิด ย่อมประสบความทุกข์ ๑๐  ประการ  คือ

                        . ต้องเจ็บปวดอย่างหนัก  ยากรักษา

                        . ทรัพย์โภคา  เสื่อมถอย  ค่อยหดหาย

                        . อวัยวะ  แตกหัก  จากร่างกาย

                        . โรคร้าย  เกาะเกี่ยว  สุดเยียวยา

                        . เกิดโรค  ทางจิต  คิดฟุ้งซ่าน

                        . มีการ  อื้อฉาว  ถูกกล่าวหา

                        . อุปสรรค  มากมี  เข้าบีฑา

                        . ญาติกา  ที่รัก  ต้องจากไป

                        . ทรัพย์สิน  ย่อยยับ  อย่างฉับพลัน

                        ข้อ ๑๐ นั้น บ้านเรือน  ถูกไฟไหม้

                        ใน ๑๐ ข้อ  ไม่ข้อหนึ่งก็ข้อใด

                        เป็นต้องได้  ประสบ  พบแน่นอน

            ความพยาบาทปองร้าย เป็นเหตุนำทุกข์ภยันตราย มาสู่ตนและคนอื่น ดังกล่าวมา  ฉะนั้นจึงควรมีเมตตากรุณา  รักใคร่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันดีกว่า  เพื่อให้โลกของเรา มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพึ่งพาอาศัยกันได้ต่อไป

มิจฉาทิฏฐิ

            เจตนาเป็นเหตุให้เห็นผิด เพราะไม่มีการถือเอาตามความเป็นจริง คัดค้านข้อประพฤติปฏิบัติของสัตบุรุษทั้งหมด  โดยนัยเป็นต้นว่า   ทานที่ให้แล้วไม่มีผล  ชื่อว่า  มิจฉาทิฏฐิ

นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง

            . นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าผลกรรมไม่มี  เช่นเห็นว่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้   ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  บิดามารดาไม่มีบุญคุณต่อบุตรธิดา  เป็นต้น

            . อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ คือ เหตุแห่งความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายไม่มี  สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง บริสุทธิ์เอง ทุกข์เอง สุขเอง ไม่มีอำนาจ  ไม่มีกำลัง  ไม่มีความเพียรอะไร ที่จะมาทำให้สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง และบริสุทธิ์ได้ ดังนั้น อเหตุกทิฏฐิ  ก็คือ  ความเห็นว่ากรรมไม่มีนั่นเอง

            . อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ หมายความว่า เมื่อคนทำบาป ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  เป็นต้น ก็ไม่จัดว่าเป็นการทำบาป  เมื่อคนให้ทาน  รักษาศีล  เป็นต้น  ก็ไม่จัดว่าเป็นการทำบุญ  ดังนั้น อกิริยทิฏฐิ  ก็คือความเห็นว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี นั่นเอง

            มิจฉาทิฏฐิ    อย่างนี้  อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนปฏิเสธกรรมและผลของกรรมโดยสิ้นเชิง  จัดเป็นกรรมบถ  ส่วนมิจฉาทิฏฐินอกจากนี้ มีสักกายทิฏฐิ  ๒๐ หรือ  ทิฏฐิ ๖๒  เป็นต้น  เป็นเพียงกรรมเท่านั้น

            มิจฉาทิฏฐิ จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยองค์  ๒ คือ

                   . เรื่องไม่จริง

                        . เรื่องไม่จริงนั้น ไม่เป็นไปตามที่มิจฉาทิฏฐิยึดถือ

            มิจฉาทิฏฐินั้น มีโทษมาก  เพราะเหตุ ๒ ประการ  คือ

                   . เพราะมีอาเสวนะมาก

                   . เพราะเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ

มโนกรรมเป็นไปในทวาร ๓

            อภิชฌา  พยาบาท  และมิจฉาทิฏฐิ  ทั้ง ๓ นี้  จัดเป็นมโนกรรม  เพราะเป็นไปในมโนทวารโดยมาก แม้ไม่มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางวาจา  เพียงแต่คิดในใจ ก็สำเร็จเป็นกรรมบถได้    บางครั้ง อกุศลธรรมทั้ง ๓ นี้  ย่อมเกิดขึ้นในกายทวารและวจีทวาร  เช่น บางคนมีใจละโมบอยากได้ของคนอื่น  จึงยื่นมือไปหยิบของนั้น  มีใจโกรธแค้น  หยิบมีดหยิบไม้เพื่อทำร้ายเขา  หรือมีความเห็นผิดไปไหว้กระบือ ๕ ขา  เพื่อขอเลข  เป็นต้น  กรรมนั้นของเขา จัดเป็นมโนกรรม  ส่วนทวาร  จัดเป็นกายทวาร ถามว่า ทำไม ? จึงไม่จัดเป็นกายกรรม  แก้ว่า เพราะตรงนี้ ท่านมุ่งถึงอภิชฌา  พยาบาท  และมิจฉาทิฏฐิเป็นใหญ่  ไม่ได้มุ่งเจตนาเป็นใหญ่  ถ้ามุ่งถึงเจตนาที่เป็นเหตุให้กระทำทางกาย จึงจัดเป็นกายกรรมได้

            บางคนมีใจละโมบ พูดออกมาว่า  ทำอย่างไรหนอ ? ของนั้น พึงเป็นของเรา  มีใจโกรธแค้น  พูดแช่งว่า  ทำอย่างไรหนอ ? คนนี้ พึงตายเสียที  มีความเห็นผิด พูดว่า ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี  เช่นนี้ กรรมของเขา จัดเป็นมโนกรรม  ส่วนทวาร จัดเป็นวจีทวาร

            บางคนไม่มีการทำทางกาย หรือพูดทางวาจา คิดละโมบอยากได้  คิดพยาบาทปองร้าย และเห็นผิดจากทำนองคลองธรรมอย่างเดียว  กรรมของเขา จัดเป็นมโนกรรม  แม้ทวาร ก็เป็นมโนทวาร  มโนกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมเกิดได้ในทวารทั้ง ๓  ดังพรรณนามาฉะนี้ ฯ

โทษของอกุศลกรรมบถ ๑๐

            บุคคลผู้ประกอบ คือ ประพฤติ หรือ กระทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้ ย่อมตกนรก เหมือนกับถูกจับเอาไปวางไว้ ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ ในปฐมนิรยสัคคสูตร ปัญจมปัณณาสถ์ ทสกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า 

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม  ๑๐  ประการ  ย่อมตกนรกเหมือนถูกจับเอาไปวางไว้  ธรรม ๑๐ ประการอะไรบ้าง ? คือ  บุคคลบางคนในโลกนี้

            .  เป็นผู้มักฆ่าสัตว์  มีมือเปื้อนเลือด  คิดแต่ประหัดประหาร  ไม่มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง

            .  มักเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ว่าของนั้นจะอยู่ในบ้านของเขา หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม  เป็นผู้ถือเอาสิ่งของนั้นด้วยจิตคิดขโมย

            .  เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม จะเป็นผิดเพราะการนอกใจคู่ครองของตน  ผิดเพราะล่วงละเมิดคู่ครองของผู้อื่น  หรือผิดเพราะล่วงละเมิดต่อบุคคลที่ตนไม่มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้นก็ตาม

            .  เป็นผู้มักกล่าวเท็จ  คือ  ตนไม่รู้บอกว่ารู้  ไม่เห็นบอกว่าเห็น  หรือรู้บอกว่าไม่รู้  เห็นบอกว่าไม่เห็น  เป็นผู้กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้  เพราะเหตุแห่งตน  เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น  หรือ เพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง

            .  เป็นผู้พูดทำลายความสามัคคี   ฟังจากฝ่ายนี้ไปบอกฝ่ายโน้น  หรือฟังจากฝ่ายโน้นมาบอกฝ่ายนี้  เพื่อให้เขาแตกสามัคคีกัน  หรือเพื่อจะทำตนให้เป็นที่รักของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ชอบสร้างความแตกแยก หรือส่งเสริมให้คนแตกแยก ชอบตั้งพรรค ตั้งพวก พูดแต่ถ้อยคำที่จะทำให้แบ่งพรรคแบ่งพวก

            .  เป็นผู้พูดวาจาที่แผ่ไปเผาผลาญหัวใจของผู้ฟัง  เป็นคำพูดบาดหู  หยาบคาย  เผ็ดร้อน  กระทบกระเทียบเปรียบเปรย  ทำให้ผู้ฟังเกิดความโกรธ  และฟุ้งซ่าน

            .  เป็นผู้พูดทำลายความสุข และประโยชน์ที่สัตบุรุษพึงได้รับ  คือ พูดคำที่กำจัดทางแห่งประโยชน์และความสุขนั้น  ไม่รู้กาลเทศะ  พูดปราศจากอรรถ  ธรรม  หรือวินัย  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นเครื่องแสดงเหตุผลเพื่อให้เข้าใจประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า

            .  เป็นผู้มากไปด้วยความละโมบ  จ้องหาทางเอาของคนอื่นมาเป็นของตน

            .  เป็นผู้มีใจพยาบาท  มีความคิดประทุษร้ายว่า  ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า  ถูกจองจำ    จงหายสาบสูญ  จงพินาศ  จงอย่าอยู่ในโลกนี้

            ๑๐.  เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัศนที่วิปริต ว่า   การให้ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล  ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี  โลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มีคุณ  บิดาไม่มีคุณ  โอปปาติกสัตว์ไม่มี  สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  รู้แจ้งเองแล้ว  แสดงโลกนี้  และโลกหน้าได้แจ่มแจ้งไม่มี

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ย่อมตกนรก  เหมือนถูกจับเอาไปวางไว้

อกุศลกรรมบถ ๑๐  จบ

 

กุศลกรรมบถ ๑๐

.  ปาณาติปาตา  เวรมณี         เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

.  อทินนาทานา  เวรมณี       เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย

.  กาเมสุ  มิจฉาจารา  เวรมณี   เว้นจากประพฤติผิดในกาม

ทั้ง ๓ นี้  จัดเป็นกายกรรม  เพราะเป็นไปทางกายทวารโดยมาก 

.  มุสาวาทา  เวรมณี              เว้นจากพูดเท็จ

.  ปิสุณาย  วาจาย  เวรมณี    เว้นจากพูดส่อเสียด

.  ผรุสาย  วาจาย  เวรมณี       เว้นจากพูดคำหยาบ

.  สัมผัปปลาปา  เวรมณี       เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม  เพราะเป็นไปทางวจีทวารโดยมาก 

.  อนภิชฌา                           ไม่โลภอยากได้ของเขา

.  อพยาปาโท                         ไม่พยาบาทปองร้ายเขา

๑๐.  สัมมาทิฏฐิ                       เห็นชอบตามคลองธรรม

ทั้ง  ๓ นี้  จัดเป็นมโนกรรม  เพราะเป็นไปทางมโนทวารโดยมาก 

คำว่า  กุศลกรรมบถ  แปลได้    นัย

          .  แปลว่า  ทางเกิดแห่งกุศลกรรมที่ส่งผลในปฏิสนธิกาล

          .  แปลว่า  กุศลกรรมที่เป็นเหตุเกิดในสุคติภูมิ  และความสุขในสุคติภูมินั้น

            กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ทรงแสดงไว้ในพระสูตรมากมาย  เฉพาะในอังคุตตรนิกาย    มีอยู่หลายสูตร  มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป ดังนี้

            ในสาธุสูตร                  เรียกว่า สาธุธรรม         (ธรรมดี)

            ในอริยธรรมสูตร         เรียกว่า อริยธรรม         (ธรรมของอารยชน)

            ในกุศลสูตร                 เรียกว่า กุศลธรรม        (ธรรมที่ทำลายความชั่ว)

            ในอรรถสูตร                เรียกว่า อรรถธรรม       (ธรรมที่มีประโยชน์)

            ในสาสวสูตร               เรียกว่า อนาสวธรรม    (ธรรมที่ไม่มีกิเลส)

            ในวัชชสูตร                 เรียกว่า อนวัชชธรรม  (ธรรมที่ไม่มีโทษ)

            ในตปนียสูตร              เรียกว่า อตปนียธรรม  (ธรรมที่สร้างความร่มเย็น)

            ในอาจยคามิสูตร         เรียกว่า อปจยคามิธรรม  (ธรรมที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ )      ในสาเลยยกสูตร ปัญจมวรรค  แห่งมูลปัณณาสถ์  ทรงเรียกว่า  ธรรมจริยสมจริยา

            ธรรมจริยา       แปลว่า             การประพฤติที่เป็นธรรม

            สมจริยา           แปลว่า             การประพฤติกรรมที่ถูกต้อง

            ทรงแสดงผลดีที่จะพึงได้รับ จากการประพฤติธรรม และการประพฤติกรรมที่ถูกต้องนี้ว่า  ใครปรารถนาอะไร ? จะเป็นมนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  พรหมสมบัติ  มรรค  ผล  และนิพพาน  ล้วนสำเร็จสมประสงค์ทั้งสิ้น  ดังข้อความในสาเลยยกสูตรว่า

            ดูก่อนพราหมณ์  และคฤหบดีทั้งหลาย  สัตว์บางพวกในโลกนี้  หลังจากตายจากโลกนี้ไปแล้ว  ย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์  เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยา  ดูก่อนพราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยา  ทางกายมี ๓  ทางวาจามี ๔  ทางใจมี

          ธรรมจริยา  และสมจริยา  ทางกายมี  ๓ คือ

            . บุคคลบางคนในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้ละการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป  เว้นขาดจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป  เป็นผู้มีท่อนไม้และศัตราอันวางแล้ว  มีความละอายประกอบด้วยความเอ็นดู  เป็นผู้เกื้อกูล  อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก

            . เป็นผู้ละอทินนาทาน  เว้นขาดจากอทินนาทาน  ขึ้นชื่อว่า  ทรัพย์ของผู้อื่น  จะอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าก็ตาม  ย่อมเป็นผู้ไม่ถือเอาทรัพย์นั้นที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้  ด้วยจิตคิดขโมย

            . เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร  เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร

            ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยา  ทางกายมี ๓ ดังนี้แล.

          ธรรมจริยา  และสมจริยา  ทางวาจามี    คือ

            . บุคคลในโลกนี้  เป็นผู้ละมุสาวาท  เว้นขาดจากมุสาวาท  ไปในสภาก็ดี  ในบริษัทก็ดี  ในท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี  ในท่ามกลางเสนาก็ดี  ในท่ามกลางแห่งราชตระกูลก็ดี  ถูกเขาอ้างเป็นพยาน  ซักถามว่า  แน่ะพ่อชาย  ท่านจงมา  ท่านรู้อย่างไร  จงเบิกอย่างนั้น  บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้       ก็บอกว่า  ข้าพเจ้าไม่รู้  หรือรู้อยู่ก็บอกว่า  ข้าพเจ้ารู้  เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า  ข้าพเจ้าไม่เห็น  หรือเห็นก็บอกว่า  ข้าพเจ้าเห็น  ย่อมไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้  เพราะเหตุแห่งตน  เพราะเหตุแห่งคนอื่น  หรือเพราะเหตุแห่งอามิสสินจ้าง

            . เป็นผู้ละคำส่อเสียด  เว้นขาดจากกล่าวส่อเสียด  ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น     เพื่อทำลายคนหมู่นี้  หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนทั้งหลายที่แตกกันแล้ว  หรือสนับสนุนหมู่คนที่สามัคคีกันอยู่แล้ว  เป็นผู้มีความชื่นชมยินดีในหมู่คนผู้สามัคคีกัน  เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้คนสามัคคีกัน

            . เป็นผู้ละคำหยาบ เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีโทษ เสนาะโสต  เป็นที่รักจับใจ  เป็นคำสุภาพ  เป็นที่ชอบใจ  พอใจของคนจำนวนมาก

            . เป็นผู้ละการกล่าวเพ้อเจ้อ  เว้นขาดจากการกล่าวเพ้อเจ้อ  พูดในเวลาที่ควรพูด  พูดคำจริง  พูดอิงอรรถ  อิงธรรม  อิงวินัย  มีหลักฐาน  มีที่อ้างอิง  ไม่พูดมาก  พูดแต่คำที่มีประโยชน์

            ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยาทางวาจามี ๔ อย่างนี้แล

          ธรรมจริยา  และสมจริยา  ทางใจมี ๓ อย่าง  คือ

            . บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้มากไปด้วยความไม่เพ่งเล็ง  ไม่ละโมบอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน

            . เป็นผู้มีใจไม่พยาบาท  ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น  คิดแต่ในทางที่ดีว่า  ขอสัตว์ทั้งหลาย  จงมีความสุข  อยู่รอดปลอดภัยเถิด

            . เป็นผู้มีความเห็นชอบ  มีความเห็นไม่วิปริตว่า  ทานที่ให้แล้วมีผล  การเซ่นสรวงบูชา   มีผล  ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง  โลกนี้มีจริง  โลกหน้ามีจริง  มารดามีบุญคุณ  บิดามีบุญคุณ  โอปปาติกะมีจริง  สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้ามีจริง 

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ธรรมจริยาและสมจริยาทางใจมี    อย่างดังนี้แล

            ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายไปแล้ว  ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เพราะการประพฤติธรรม  และการประพฤติกรรมอันชอบ  เหล่านี้แล

            ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลผู้ประพฤติธรรมและประพฤติกรรมอันชอบ  พึงหวังว่า  หลังจากที่เราตายแล้ว

            .  พึงเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล                                    .  พราหมณ์มหาศาล                         .  เทวดาชั้นจาตุมมหาราช                              .  เทวดาชั้นดาวดึงส์

.  เทวดาชั้นยามา                                          .  เทวดาชั้นดุสิต

            .  เทวดาชั้นนิมมานรดี                                  .  เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี           .  พรหมชั้นพรหมกายิกา                                    ๑๐.  พรหมชั้นอาภา                             ๑๑.  พรหมชั้นปริตตาภา                                 ๑๒.  พรหมชั้นอัปปมาณาภา                      ๑๓.  พรหมชั้นอาภัสสรา                                 ๑๔. พรหมชั้นสุภา

๑๕. พรหมชั้นปริตตสุภา                                ๑๖. พรหมชั้นอัปปมาณสุภา

๑๗. พรหมชั้นสุภกิณหา                                  ๑๘. พรหมชั้นเวหัปผลา

๑๙. พรหมชั้นอวิหา                                         ๒๐. พรหมชั้นอตัปปา

๒๑. พรหมชั้นสุทัสสา                                                ๒๒. พรหมชั้นสุทัสสี

๒๓. อรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนะ         ๒๔. อรูปพรหมชั้นวิญญาณัญจายตนะ

๒๕. อรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนะ                ๒๖. อรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

            และการบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติในชาติปัจจุบัน  ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นไปได้  ถามว่า  เพราะเหตุไร ? ตอบว่า  เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ประพฤติธรรม  และเป็นผู้ประพฤติกรรมอันชอบ

            พระสูตรนี้แสดงว่า  บุคคลผู้ปฏิบัติตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จะปรารถนามนุษยสมบัติ  สวรรคสมบัติ  และนิพพานสมบัติ ก็ตาม  ล้วนสมประสงค์ทั้งนั้น 

            มนุษยสมบัติ  ทรงแสดงด้วยคำว่า  ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับกษัตริย์มหาศาล  และ พราหมณ์มหาศาล

            สวรรคสมบัติ  ทรงแสดงด้วยคำว่า   ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมมหาราช   จนถึงอรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

            นิพพานสมบัติ  ทรงแสดงด้วยคำว่า  การบรรลุเจโตวิมุตติ  และปัญญาวิมุตติ

 

กุศลกรรมบถ ๑๐ 

ทำให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ

            กุศลกรรมบถ ๑๐  ประการนี้  จัดว่าเป็นศีล  บุคคลผู้รักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์  ย่อมได้รับอานิสงส์  ดังนี้

            . สีเลน  สุคตึ  ยนฺติ               คนทั้งหลายไปสู่สุคติได้ เพราะศีล

            . สีเลน  โภคสมฺปทา            คนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์  เพราะศีล

            . สีเลน  นิพฺพุตึ  ยนฺติ            คนทั้งหลายบรรลุนิพพานได้  เพราะศีล

            ศีลเป็นเหตุให้ได้ไปสู่สุคตินั้น หมายถึง  ได้เกิดเป็นมนุษย์ ๑  กามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น  และพรหมโลก ๒๐ ชั้น เพิ่มอสัญญีพรหมในลัทธิภายนอกอีก ๑  รวมเป็นสวรรค์  ๒๖ ชั้น เพราะผลของกุศลกรรมบถ ๑๐  โดยตรง

            ส่วนศีลเป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพาน หมายถึง ทรงแสดงศีลโดยความเป็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุเป็นอรหัตตผล ๒ ประเภท คือ  เจโตวิมุตติ  และปัญญาวิมุตติ 

อุปนิสัยมี    อย่าง 

            . ทานูปนิสัย              อุปนิสัยคือทาน การเสียสละ  คนผู้มีอุปนิสัยนี้  ย่อมกำจัดความโลภหรือทำความโลภให้เบาบางได้

            . สีลูปนิสัย               อุปนิสัยคือศีล  การเว้นจากเบียดเบียนสัตว์อื่น  คนผู้มีอุปนิสัยนี้  ย่อมไม่มีการเบียดเบียนสัตว์อื่น

            . ภาวนูปนิสัย            อุปนิสัยคือภาวนา การสั่งสมความดี  คนผู้มีอุปนิสัยนี้ ย่อมเพียรพยายามเพื่อทำความดีให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

            กุศลกรรมบถ ๑๐  นี้ จัดเป็นศีล  ดังนั้น จึงเป็นสีลูปนิสัย ที่จะช่วยสนับสนุนให้ได้บรรลุ  สมาธิ  ปัญญา และวิมุตติ  ตามพระบาลีว่า  สีลปริภาวิโต  สมาธิ  มหปฺผโล  โหติ  มหานิสํโส     แปลว่า  สมาธิที่ถูกบ่มด้วยศีล  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  อธิบายว่า  บุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์ เมื่อบำเพ็ญสมาธิ  ย่อมสามารถทำฌานให้เกิดได้ง่าย  ครั้นได้ฌานแล้ว ตายไป ย่อมเกิดเป็นพรหม  อย่างนี้ ชื่อว่ากุศลกรรมบถ เป็นเหตุให้ได้ไปเกิดในพรหมโลก

            ส่วนผู้ได้ฌานบางท่าน ใช้ฌานเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา  ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงได้ง่าย  สมกับพระบาลีที่ว่า  สมาธิปริภาวิตา  ปญþญา  มหปฺผลา  โหติ  มหานิสํสา  แปลว่า ปัญญาที่ถูกบ่มด้วยสมาธิ  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก

            จิตของบุคคลผู้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ตามพระบาลีว่า   ปญþญาปริภาวิตํ   จิตฺตํ   สมฺมเทว  อาสเวหิ   วิมุจฺจติ   เสยฺยถีทํ   กามาสวา   ภวาสวา  อวิชฺชาสวา  แปลว่า  จิตที่ถูกอบรมด้วยปัญญา  ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ  ภวาสวะ  และอวิชชาสวะโดยชอบ  อย่างนี้ ชื่อว่ากรรมบถ เป็นเหตุให้ได้บรรลุเจโตวิมุตติ  และปัญญาวิมุตติ

            สีลูปนิสัย  คือ  กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นเหตุให้บุคคลได้บรรลุฌาน  มรรค  ผล  และนิพพาน  ดังพรรณนามาฉะนี้ เปรียบได้กับส่วนของต้นไม้  สีลูปนิสัย  เป็นเสมือนรากไม้ สมาธิ เป็นเสมือนลำต้น  ปัญญา เป็นเสมือนกิ่งก้านและใบ  วิมุตติ ความหลุดพ้น  เป็นเสมือนดอกและผลของต้นไม้

            ศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ  ทำให้ผู้ปฏิบัติได้มนุษยสมบัติ  สวรรคสมบัติ  และนิพพานสมบัติ  ตามขั้นตอนดังได้อธิบายมานี้

อธิบายกุศลกรรมบถ  ๑๐  โดยอาการ 

            .  โดยธรรม คือ โดยสภาวธรรม

กุศลกรรมบถ    คือ

                        . ปาณาติปาตา  เวรมณี

                        . อทินนาทานา  เวรมณี

                        . กาเมสุมิจฉาจารา  เวรมณี

                        . มุสาวาทา  เวรมณี

                        . ปิสุณาย  วาจาย  เวรมณี

                        . ผรุสาย  วาจาย  เวรมณี

                        . สัมผัปปลาปา  เวรมณี

แม้มีชื่อต่างกันก็จริง  แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรม ได้แก่  เจตนา หรือวิรัติ  หมายความว่า  ถ้าไม่ตั้งใจจะงดเว้น  หรือไม่มีการงดเว้น  กรรมบถทั้ง ๗ นี้  ย่อมสำเร็จไม่ได้เลย

            มโนธรรม    คือ  อนภิชฌา โดยสภาวธรรม ได้แก่  อโลภะ อพยาบาท โดยสภาวธรรม  ได้แก่  อโทสะ   สัมมาทิฏฐิ โดยสภาวธรรม ได้แก่  อโมหะ  ที่ประกอบด้วยเจตนา

            .  โดยโกฏฐาสะ คือ  โดยส่วนแห่งธรรมต่าง ๆ 

กุศลกรรมบถ    คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ เป็นกรรมบถอย่างเดียว  ไม่เป็นรากเหง้าของกุศลเหล่าอื่น  ส่วนมโนกรรม ๓ อย่าง มีอนภิชฌา อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ  เป็นทั้งกรรมบถเป็นทั้งรากเหง้าของกุศลเหล่าอื่น เพราะทั้ง ๓ นี้ ก็คือ อโลภะ  อโทสะ อโมหะ  ที่เป็นกุศลมูลนั่นเอง

            . โดยอารมณ์ คือ สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้ว เป็นเหตุให้งดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐  ประการ  พระอรรถกถาจารย์  อธิบายว่า  อารมณ์แห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐  นั่นแหละ  เป็นอารมณ์แห่งกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ   เปรียบเหมือนน้ำที่สามารถทำให้เรือลอย ก็ได้ ทำให้จมลง ก็ได้       

.  โดยเวทนา  คือ ความรู้สึกเป็นสุข  เป็นทุกข์  และเฉย ๆ พระอรรถกถาจารย์ อธิบายว่า ในขณะทำกุศล  ทุกขเวทนา คือ ความเสียใจ  ความไม่สบายใจ ย่อมไม่มี  เพราะฉะนั้น ในขณะประพฤติกุศลกรรมบถ  จึงมีเพียงเวทนา ๒  คือ  สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา

            .  โดยมูล  คือ โดยกุศลมูล ๓ อย่าง ได้แก่  อโลภมูล ๑  อโทสมูล ๑ อโมหมูล ๑

                        กุศลกรรมบถ ๗  คือ  กายกรรม ๓  วจีกรรม ๔  ที่บุคคลประพฤติด้วยปัญญา      มีมูล ๓ คือ อโลภมูล  อโทสมูล อโมหมูล ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูล ๒ คือ  อโลภมูล อโทสมูล

                        อนภิชฌา  ที่ประพฤติด้วยปัญญา  มีมูล ๒ คือ อโทสมูล อโมหมูล  ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูลเดียว  คือ  อโทสมูล

                        อพยาบาท   ที่ประพฤติด้วยปัญญา   มีมูล ๒ คือ  อโลภมูล  อโมหมูล  ที่ประพฤติโดยขาดปัญญามีมูลเดียว คือ  อโลภมูล

สัมมาทิฏฐิ  มีมูล ๒  คือ  อโลภมูล  อโทสมูล

อานิสงส์ของกุศลกรรมบถ ๑๐

          กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ ในจุนทสูตร ทสกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ ทางวาจามี ๔ ทางใจมี ๓ ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคน ในโลกนี้

            . เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัตรา มีความสะอาดใจ มีความเอ็นดู มีความเมตตากรุณา ต่อสัตว์ทุกหมู่เหล่า

            . เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยจิตอันเป็นขโมย ไม่ว่าของนั้นจะอยู่ในบ้านของเขา อยู่ในป่า หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม

            . เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร

            ดูก่อนจุนทะ ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคน   ในโลกนี้

            . เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ในท่ามกลางเสนา หรืออยู่ในท่ามกลางราชสำนัก ก็ตาม ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า พ่อชายผู้เจริญ พ่อรู้อย่างไร ? จงเบิกความอย่างนั้น ผู้นั้น เมื่อไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็น ก็บอกว่าเห็น จะไม่เป็นผู้กล่าวมุสาวาท ทั้งที่รู้ตัว เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุแห่งอามิสสินจ้าง

            . เป็นผู้ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ฟังฝ่ายนี้แล้ว ไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายคนฝ่ายนี้ หรือฟังฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายคนฝ่ายโน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกสามัคคี และสนับสนุนคนที่สามัคคีกันอยู่ ชื่นชมยินดีคนที่สามัคคีกัน พูดแต่วาจาที่สร้างความสามัคคี

            . เป็นผู้ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้พูดแต่วาจาอันไม่มีโทษ เสนาะโสต เป็นที่รัก ซึ้งใจ เป็นคำพูดของผู้ดี เป็นที่รักและชอบใจ ของคนทั่วไป

            . เป็นผู้ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ เป็นผู้พูดถูกกาลเวลา พูดแต่คำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงวินัย พูดถ้อยคำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยสมควรแก่เวลา

            ดูก่อนจุนทะ  ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง  มีอะไรบ้าง ? ดูก่อนจุนทะ บุคคลบางคน      ในโลกนี้

            . เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความเพ็งเล็ง ไม่เพ็งเล็งคิดเอาของผู้อื่น มาเป็นของตนว่า ทำอย่างไรหนอ ? ทรัพย์ของผู้อื่นนั้น จะพึงเป็นของเรา

            . เป็นผู้มีใจไม่พยาบาท มีใจไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงอย่าจองเวรกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความทุกข์ จงมีแต่ความสุข อยู่รอดปลอดภัยเถิด

            . เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีทัศนะอันไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผลดี การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมดี และกรรมชั่วมีจริง  โลกนี้มีจริง โลกหน้ามีจริง มารดา บิดา       มีบุญคุณต่อบุตรธิดาจริง โอปปาติกสัตว์มีจริง สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งประจักษ์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าแล้ว สั่งสอนผู้อื่นมีจริง

            ดูก่อนจุนทะ กุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการ ดังนี้แล ดูก่อนจุนทะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ ลุกขึ้นจากที่นอน แต่เช้าตรู่ จะจับต้องแผ่นดิน โคมัยสด หญ้าอันเขียวขจี หรือไม่จับต้องก็ตาม จะประนมไหว้พระอาทิตย์หรือไม่ก็ตาม จะลงอาบน้ำเช้าเย็นหรือไม่ก็ตาม

จะบูชาไฟ หรือไม่บูชาไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอย่างแท้จริง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนจุนทะ เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นพฤติกรรมอันสะอาด และเป็นเครื่องสร้างพฤติกรรมอันสะอาด ดูก่อนจุนทะ เทวคติ มนุษยคติ หรือสุคติอื่นใด บรรดามี ย่อมปรากฏ เพราเหตุแห่งการประกอบกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้แล

 

กุศลลกรรมบถ  ๑๐  จบ

 

ภาคผนวก

การแสดงเรื่องกรรมบถในที่นี้ ได้นำข้อความในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา มาเรียบเรียง  ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายแก่ผู้ศึกษา ควรรู้ความหมายของคำเหล่านี้ คือ 

            . กุศล                        หมายถึง           สิ่งที่ทำลายความชั่ว

            . อกุศล                     หมายถึง           สิ่งที่ทำลายความดี

            . กรรม                      หมายถึง           ความตั้งใจทำ พูด คิด

            . กรรมบถ                 หมายถึง           ทางเกิดแห่งกรรม หรือ กรรมที่เป็นเหตุเกิดในสุคติภูมิ ทุคติภูมิ และ ความสุข ความทุกข์ในภูมิเหล่านั้น  

            . กุศลกรรมบถ         หมายถึง           ทางเกิดแห่งกรรมที่ทำลายความชั่ว

            . อกุศลกรรมบถ        หมายถึง           ทางเกิดแห่งกรรมที่ทำลายความดี

            . กายกรรม                หมายถึง           กรรมที่ทำทางกาย

            . วจีกรรม                 หมายถึง           กรรมที่ทำทางวาจา

            . มโนกรรม               หมายถึง           กรรมที่ทำทางใจ มีอภิชฌา เป็นต้น

            ๑๐. กายทวาร                          หมายถึง           กายที่เป็นเหตุเกิดของกรรม

            ๑๑. วจีทวาร                หมายถึง           วาจาที่เป็นเหตุเกิดของกรรม  

            ๑๒. มโนทวาร            หมายถึง           ใจที่เป็นเหตุเกิดของกรรม  ได้แก่  ชวนจิต

 ฝ่ายกุศล และอกุศล

 

อกุศลกรรมบท จบ.